ความรู้คือสิ่งที่สั่งสมมาจากการศึกษาเล่าเรียน การค้นคว้าหรือประสบการณ์
รวมทั้งความสามารถเชิงปฏิบัติและทักษะความเข้าใจ
หรือสารสนเทศที่ได้รับมาจากประสบการณ์ สิ่งที่ได้รับมาจากการได้ยิน ได้ฟัง
การคิดหรือการปฏิบัติองค์วิชาในแต่ละสาขา
ซึ่งในความคิดของผู้นั้นคิดว่า นิยามของคำว่า
ความรู้ นั้นเป็นสิ่งที่ยากที่จะกำหนดขอบเขตของความหมาย แต่ถ้าเราเริ่มจากคำว่า
"ข้อมูล" หรือ "ข้อเท็จจริง" สิ่งที่ได้คือความจริงต่าง ๆ
ที่ปรากฏเกิดขึ้น การดำเนินการต่าง ๆ ทำให้เกิดข้อมูล เช่น
เมื่อเรามีการซื้อขายสินค้า ก็มีการจดบันทึกหลักฐาน เช่น การออกใบเสร็จ ใบสั่งของ
เอกสารกำกับ เป็นรายการแสดงการดำเนินการ สิ่งเหล่านี้เรียกว่าข้อมูล ข้อมูลจึงเป็นเรื่องของข้อเท็จจริงที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์
เกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เกิดจากกิจกรรมต่าง ๆ
ที่ต้องดำเนินการทั้งในระดับส่วนตัว ระดับการทำงานร่วมกัน และระดับกลุ่ม องค์กร
ตลอดจนระดับสังคม และชุมชนต่าง ๆ และความรู้นั้นก็มีอยู่
2 ชนิด คือ
1. ความรู้ที่ฝังอยู่ในสมอง ( Tacit
Knowledge ) อาจเรียกง่ายๆ ว่า ความรู้ในตัวคน ได้แก่
ความรู้ที่เป็นทักษะ ประสบการณ์ ความคิดริเริ่ม พรสวรรค์ หรือสัญชาติญาณของบุคคลในการทำความเข้าใจ สิ่งต่างๆ บางครั้งเรียกว่าความรู้แบบนามธรรม
2. ความรู้ที่ชัดแจ้ง
( Explicit Knowledge ) อาจเรียกว่าความรู้นอกตัวคน
เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่างๆ
เช่นการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร เป็นหนังสือ ตำราเอกสาร กฎระเบียบ วิธีปฏิบัติงาน
เป็นต้น บางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม
กัลป์น่ารัก
ตอบลบ