ยินดีต้อนรับของสู่ Blogger เทคโนโลยีสำหรับการบริหารจัดการความรู้ ผู้ชมสามารถเรียนรู้และนำข้อมูลเหล่านี้ไปศึกษาต่อได้ ขอให้ทุกคนสนุกและได้รับความรู้ต่างๆจาก Blogger ค่ะ

วันศุกร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

ประเภทของความรู้


(นฤมล พฤกษศิลป และ พัชรา หาญเจริญกิจ, 2543 : 61-62)   แบงความรูออกเปนหลายประเภทดังนี้

  1. ความรูกอนประสบการณ (Priori knowledge) คือ ความรูที่ไมตองอาศัยประสบการณ
  2. ความรูหลังประสบการณ (Posteriori knowledge) คือ ความรูที่เกิดหลังจากที่มีประสบการณแลว
  3. ความรูโดยประจักษ (Knowledge by Acquaintance) คือ ความรูที่เกิดจากสิ่งที่ถูกรู  ซึ่งปรากฏโดยตรงตอผูรูผานทางหู ตา จมูก ลิ้น หรือ กาย
  4. ความรูโดยบอกกลาว (Knowledge by Description) คือ ความรูที่เกิดจากคําบอกเลา
  5. ความรูเชิงประจักษ หรือความรูเชิงประสบการณ (Expirical knowledge) คือ ความรูที่ได้จากประสบการณ หรือความรูหลังประสบการณ์
  6. ความรูโดยตรง (Immediate knowledge) คือ ความรูที่ไดรับโดยสัมผัสทั้ง 6 คือ เห็น ไดยิน กลิ่น รส สัมผัส และรับรูทางใจ
  7. ความรูเชิงปรวิสัย หรือ ความรูเชิงวัตถุวิสัย (Objective knowledge) คือ ความรูที่เกิดจากเหตุผลหรือประสบการณที่สามารถอธิบาย หรือทดสอบใหผูอื่นรับรูไดอยางที่ตน
  8. ความรูเชิงอัตวิสัย หรือความรูเชิงจิตวิสัย (Subjective knowledge) คือ ความรูที่เกิดจากการประสบดวยตนเอง และตนไมสามารถอธิบายได หรือทดสอบใหผูอื่นรับรูได้

(Tiwana, 2000 : 67)  แบงประเภทของความรูไว  ดังนี้

  1. ความรูภายนอก เปนความรูที่ไดจากการแสดงความคิดเห็น ความเชื่อของบุคคลในการทํางาน
  2. ความรูจากแหลงความรูตางๆ เปนความรูที่มาจากแหลงความรูอื่นๆ ภายนอกตัวบุคคล และแหลงความรูตางๆ
  3. ความรูที่ไมอยูเฉพาะที่ เปนความรูที่เปนอิสระ สามารถถายทอดไดจากบุคคลไปสูองคกร หรือจาก องคกรไปสูองคกร

การบริหารจัดการความรู Knowledge Management (KM)







การบริหารจัดการความรู  Knowledge Management (KM)
             ปจจุบันเปนสังคมแหงการเรียนรู  แหลงความรูมีอยูมากมาย  และกระจัดกระจายอยูในหลายรูปแบบ ความรูเปนผลผลิตของสารสนเทศ  ซึ่งประกอบดวย  ขอเท็จจริง ความคิดเห็น  ทฤษฎี  หลักการ  และกรอบ แนวคิดตาง ๆ  รวมถึงทักษะ  และประสบการณของแตละบุคคล  ซึ่งเราใชเพื่อการตัดสินใจ  การดําเนินชีวิต ของมนุษย ชีวิตสวนตัว หรือ การทํางานในองคกรตองใชความรูเปนเครื่องมือชวยในการตัดสินใจในเรื่อง ตางๆ ดังนั้นจึงเกิดแนวคิดวาเราจะทําอยางไรเราจึงจะสามารถใชความรูที่เรามีอยูใหเกิดประโยชนสูงสุด
            Knowledge Management  เกิดจากขอมูลขาวสารตาง ๆ ที่เกิดขึ้นอยางมากมาย  ทําใหองคกรตาง ๆ มี ขอมูลจัดเก็บอยูจํานวนมาก  และเกิดความตองการที่จะจัดใหอยูอยางเปนระเบียบ  เขาถึงงาย  ทันตอการ นําไปใชงาน 

ความหมายของความรู้
            Tiwana (2000, 5) ความรู  หมายถึง สิ่งที่เปลี่ยนแปลงไดโดยประสบการณ และสามารถถูก ประยุกตใชไดโดยบุคคล 
           ดาเวนพอรท  (2542, 8) ความรู  คือ กรอบของการประสมประสานระหวางประสบการณ คานิยม ความรอบรูในบริบท  และความรูแจงอยางช่ําชอง  เปนการประสมประสานที่ใหกรอบสําหรับ     การ ประเมินคา  และการนําเอาประสบการณกับสารสนเทศใหม ๆ  มาผสมรวมเขาดวยกัน  มันเกิดขึ้นและถูก นําไปประยุกตในใจของคนที่รู  สําหรับในแงขององคกรนั้น  ความรูมักจะสั่งสมอยูในรูปของเอกสาร  หรือ แฟมเก็บเอกสารตาง ๆ  รวมถึงสั่งสมอยูในการทํางาน  อยูในกระบวนการ  อยูในการปฏิบัติงานและอยูใน บรรทัดฐานขององคกรนั่นเอง   
           ศรันย ชูเกียรติ (2541, 14)  องคความรู หมายถึง  ความรูในการทําบางสิ่งบางอยาง (Know how  หรือ how to ) ที่เปนไปอยางมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่กิจกรรมอื่น ๆ ไมสามารถกระทําได ซึ่งปจจุบันองคความรูถือเปนทรัพยสินทางปญญาที่มีความสําคัญตอกิจการมากเนื่องจากเปนที่มาของการกอกําเนิด กําไรในธุรกิจและเปนเครื่องมือที่สําคัญในการสรางความไดเปรียบทางการแขงขันรวมถึงทําใหธุรกิจ
สามารถดํารงอยูไดในระยะยาว 
           สรุป  ความรู  คือ  สิ่งที่ใชอธิบายสิ่งตาง ๆ ที่พบเห็นไดอยางมีเหตุผล  โดยอาศัยขอมูล ทักษะ และ ประสบการณที่มีอยูเปนสวนสนับสนุนการตัดสินใจ 

วันอังคารที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

ความรู้

ความรู้คือสิ่งที่สั่งสมมาจากการศึกษาเล่าเรียน การค้นคว้าหรือประสบการณ์ รวมทั้งความสามารถเชิงปฏิบัติและทักษะความเข้าใจ หรือสารสนเทศที่ได้รับมาจากประสบการณ์ สิ่งที่ได้รับมาจากการได้ยิน ได้ฟัง การคิดหรือการปฏิบัติองค์วิชาในแต่ละสาขา
ซึ่งในความคิดของผู้นั้นคิดว่า นิยามของคำว่า ความรู้ นั้นเป็นสิ่งที่ยากที่จะกำหนดขอบเขตของความหมาย แต่ถ้าเราเริ่มจากคำว่า "ข้อมูล" หรือ "ข้อเท็จจริง" สิ่งที่ได้คือความจริงต่าง ๆ ที่ปรากฏเกิดขึ้น การดำเนินการต่าง ๆ ทำให้เกิดข้อมูล เช่น เมื่อเรามีการซื้อขายสินค้า ก็มีการจดบันทึกหลักฐาน เช่น การออกใบเสร็จ ใบสั่งของ เอกสารกำกับ เป็นรายการแสดงการดำเนินการ สิ่งเหล่านี้เรียกว่าข้อมูล ข้อมูลจึงเป็นเรื่องของข้อเท็จจริงที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ เกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เกิดจากกิจกรรมต่าง ๆ ที่ต้องดำเนินการทั้งในระดับส่วนตัว ระดับการทำงานร่วมกัน และระดับกลุ่ม องค์กร ตลอดจนระดับสังคม และชุมชนต่าง ๆ   และความรู้นั้นก็มีอยู่ 2 ชนิด คือ
1. ความรู้ที่ฝังอยู่ในสมอง ( Tacit Knowledge ) อาจเรียกง่ายๆ ว่า ความรู้ในตัวคน ได้แก่ ความรู้ที่เป็นทักษะ ประสบการณ์ ความคิดริเริ่ม พรสวรรค์ หรือสัญชาติญาณของบุคคลในการทำความเข้าใจ สิ่งต่างๆ บางครั้งเรียกว่าความรู้แบบนามธรรม
          2. ความรู้ที่ชัดแจ้ง ( Explicit Knowledge ) อาจเรียกว่าความรู้นอกตัวคน เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้ โดยผ่านวิธีต่างๆ เช่นการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร เป็นหนังสือ ตำราเอกสาร  กฎระเบียบ  วิธีปฏิบัติงาน เป็นต้น บางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม